ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ ยุวดี ได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมา

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า  รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ .. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ปี เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริเป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบ

เนื้อเรื่องย่อ

                 นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ  สุวัฒน์  ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
            การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ  ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
            ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
            ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน

            ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก

            ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

กรมท่าซ้าย                            หมายถึง                                ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง
ขุดอู่                                       หมายถึง                                ปลูกเรือนตามใจผู้นอน
ครึ                                          หมายถึง                                เก่า   ล้าสมัย
คลุมถุงชน                              หมายถึง                                การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดหาให้
โช                                          หมายถึง                                อวดให้ดู
เทวดาถอดรูป                        หมายถึง                                มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบชะเล่อร์                            หมายถึง                                ชายโสด
ปอปูลาร์                                หมายถึง                                ได้รับความนิยม
พิสดาร                                  หมายถึง                                ละเอียดลออ   กว้างขวาง
พื้นเสีย                                   หมายถึง                                โกรธ
ไพร่                                       หมายถึง                                ชาวบ้าน
ฟรี                                         หมายถึง                                เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคลุม
เร็สตอรังต์                             หมายถึง                                ภัตตาคาร   ร้านอาหาร
เรี่ยม                                      หมายถึง                                สะอาดหมดจด
ลอยนวล                               หมายถึง                                ตามสบาย
เล็กเช่อร์                                หมายถึง                                บรรยาย
ศิวิไลซ์                                  หมายถึง                                เจริญ   มีอารยธรรม
สิ้นพูด                                   หมายถึง                                หมดคำพูดที่จะกล่าว
หดหู่                                     หมายถึง                                หอเหี่ยวไม่ชื่นบาน

หมอบราบ                            หมายถึง                                ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า                                หมายถึง                                คาดว่า
หัวนอก                                 หมายถึง                                คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง                                 หมายถึง                                ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง                                   หมายถึง                                ค่อนข้าง
อินเตอเร้สต์                          หมายถึง                                ความสนใจ
เอดูเคชั่น                               หมายถึง                                การศึกษา
ฮันนี่มูน                                 หมายถึง                                การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่
หลวง                                     หมายถึง                                บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนและต่ำกว่าพระ     

ลักษณะคำประพันธ์

หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
  1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า จากเพื่อน…” “แต่เพื่อน…” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย...อ่านต่อ

ประวัติผู้แต่ง


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖) แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา๑๕ปีที่ทรงครองราชย์(พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๖๘)ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานหลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขา และทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์...อ่านต่อ

ข้อคิดที่ได้รับ

1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย

5.คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม